วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ขนมต๊อก/เค้กของเกาหลี



1
ขนมเค้กของเกาหลีที่เรียกว่า ต๊อก (tteok) ขนมเค้กชนิดนี้มีเพียงแป้ง เกลือ น้ำตาล และธัญพืช เป็นส่วนผสมเท่านั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นขนมเค้กไขมันต่ำ และยังเป็นอาหารเพื่อสุขภาพก็ว่าได้
2
อันที่จริงแล้ว ต๊อก ก็คือ ขนมเค้กทำมาจากข้าว หรือว่า rice cake นี่เอง หากเราลองพิจารณาขนมไทยเราแล้วก็จะพบว่ามีแป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า เป็นส่วนประกอบหลักด้วยเช่นกัน เพียงแต่ว่าขนมไทยเรานิยมนำเอากะทิ และไข่ มาเป็นส่วนผสมด้วย
3
ในขณะที่ ต๊อก เป็นขนมข้าว ไร้กะทิ ไร้มัน ในยุคปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญในเรื่องอาหารอย่าง ดร.ซุค-จา ยูน แห่งสถาบันอาหารพื้นเมืองเกาหลี กรุงโซล ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ ‘ต๊อก’ ยังได้นำขนมเค้กเกาหลีมาดัดแปลงให้มีหน้าตาเหมือน ซูชิ แซนด์วิช และขนมเค้กแบบตะวันตก เสิร์ฟเป็นอาหารกลางวันชุดลดน้ำหนักให้ลองรับประทานเมื่อคราวที่มีโอกาสได้ไปเยือนที่สถาบัน รับประทานแล้วก็รู้สึกอยู่ท้องไม่น้อย
4
ดร.ซุค-จา ยูน สนใจสืบค้นและศึกษาเรื่องราว รวมทั้งรวบรวมอุปกรณ์การทำขนมพื้นบ้านเกาหลีชนิดนี้มาเป็นเวลานานนับสิบปี กว่าจะนำข้อมูลและของใช้ต่างๆ มาจัดแสดงให้ชมในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่บนชั้น 5 ของสถาบันอาหารพื้นเมืองเกาหลีนั่นเอง
7
?ดร.ซุค-จา ยูน สาธิตวิธีการทำเค้กข้าว
?8
เค้กข้าวสมัยใหม่ทำเป็นชิ้นเล็กๆใส่กล่องสวยงาม
หากจะค้นไปถึงต้นตอของต๊อกกันแล้ว คงต้องย้อนกลับไปถึงยุคสำริด สมัยที่มนุษย์รู้จักใช้โลหะที่มีส่วนผสมระหว่างทองแดงกับดีบุกโน่นเลย เป็นที่รู้กันดีว่า ‘ข้าว’ เป็นผลผลิตสำคัญของชาวเอเชียและก่อให้เกิดวัฒนธรรมอาหารของชาวเอเชียในประเทศต่างๆ สำหรับการนำข้าวมาทำเป็นขนมต๊อกนี้ ในสมัยโบราณจะทำขึ้นเพื่อรับประทานกันในโอกาสพิเศษ เช่น วันเกิด วันแต่งงาน และวันฉลองอายุ 60 ปี
?tt6
เค้กข้าวตกแต่งเป็นรูปสัตว์น่ารัก
เป็นที่น่าสังเกตว่า ต๊อก จะนำมาใช้เฉลิมฉลองในวาระเริ่มต้นของการมีชีวิตใหม่ หรือการกลับมาเริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งการเตรียมขนมชนิดนี้เอาไว้บนโต๊ะอาหารในวันที่แสดงความระลึกถึงบรรพบุรุษอีกด้วย
?9
เค้กข้าวตกแต่งคล้ายขนมเค้กแบบฝรั่ง
แม้ว่าต๊อกจะมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน จนทำให้ต๊อกทุกวันนี้มีมากมายถึง 300-400 ชนิดก็ตาม หากวิธีการทำขนมเค้กของเกาหลีนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี คือ นึ่ง บด และทอด แน่นอนว่าส่วนผสมหลักคือ แป้งข้าวเจ้า และแป้งข้าวเหนียว แต่ส่วนผสมอื่นๆ ที่เป็นหลักได้แก่ ถั่ว ถั่วแดง เกาลัด ดอกไม้ รวมทั้งสมุนไพรนานาชนิด ที่ช่วยทำให้เกิดสี กลิ่น ที่แตกต่างกันไป
ในสมัยราชวงศ์โชซอน ช่วงฤดูใบไม้ผลิดอกอาซาเลียจะบานสะพรั่ง ต๊อกหรือขนมข้าวรูปกลมแบนจะได้รับการตกแต่งด้วยกลีบดอกอาซาเลีย แล้วนำไปทอดให้สุกราดด้วยน้ำผึ้งหวาน ส่วนในฤดูร้อนเป็นเวลาที่ดอกกุหลาบสีเหลืองจะเบ่งบาน สาวเกาหลีก็จะนำเอากลีบดอกกุหลาบสีเหลืองมาประดับในต๊อกได้อย่างน่าประทับใจ?
10
สำหรับเด็กๆ
ต๊อก จึงไม่เพียงแต่เป็นขนมที่มีความหมายถึงความดีงาม ความสุข แต่เพียงอย่างเดียว ยังเปรียบเสมือนงานศิลปะที่นำมาซึ่งสุนทรียรสทางสายตาและรสชาติเลยทีเดียว
ในสมัยนี้ ต๊อกอาจไม่ใช่ขนมที่หาซื้อได้ง่ายดายตามซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป หากไม่ใช่ทำรับประทานกันในครอบครัวกันแล้ว มีร้านขายขนมต๊อกแบบดั้งเดิม และแบบเทรนดี้ หลายร้านในย่านอินซาดง แหล่งชอปปิงชื่อดังของกรุงโซล และที่คาเฟ่
?11
เค้กข้าวทำเลียนแบบซูชิที่ จิลซิรุ เคี้ยวค่อนข้างลำบากเพราะเหนียวได้ใจ
จิลซิรุ บริเวณชั้นล่างของสถาบันอาหารพื้นเมืองเกาหลี ซึ่งจำหน่ายต๊อกในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นต๊อกรูปการ์ตูน ต๊อกรูปซูชิ ต๊อกรูปดอกไม้ แต่ละชิ้นมีความงดงามจนแทบจะไม่กล้ารับประทานกันเลยจริงๆ
5
ดร.ซุค-จา ยูน ย้ำว่าวิธีทำต๊อก หรือขนมเค้กเกาหลีนี้ง่ายแสนง่าย อุปกรณ์ก็มีเพียงชามผสมแป้ง ตะแกรงร่อนแป้ง พิมพ์ขนมรูปกลม (หน้าตาคล้ายเข่งนึ่งซาลาเปา) ผ้าขาวบาง หม้อนึ่งอาหาร และใช้มือทั้งสองข้างนี่ล่ะค่ะ หยิบแป้งและส่วนผสมขึ้นมาถูเข้าด้วยกันเท่านั้น

ประวัติราเม็ง

ายสัมพันธ์ระหว่างคนญี่ปุ่น กับ ราเม็ง นั้น ไม่มีทางที่จะตัดขาดจากกันได้ ราเม็งแทบจะกลายเป็นอาหารหลักของชาวอาทิตย์อุทัยไปแล้ว ชาวญี่ปุ่นนิยมทางราเม็งในมื้อกลางวัน เนื่องจากเป็นอาหารที่รสชาติอร่อย อิ่มท้อง สะดวกรวดเร็ว และที่สำคัญ สามารถหาทานได้แทบจะทั่วทุกซอกมุมของประเทศ ว่ากันว่าชาวญี่ปุ่นสามารถทานราเม็งได้ตลอดทั้งวัน ตั้งแต่เป็นมื้อเช้าไปจนถึงมื้อค่ำ หรือแม้กระทั่งเป็นอาหารปิดท้ายหลังจากสังสรรค์ยามราตรี  
ราเม็ง หรือบะหมี่ มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน เข้ามาสู่เกาะญี่ปุ่นในสมัยเมจิ (ราว ค.ศ.1868-1912) จากชุมชนชาวจีนที่มาตั้งรกรากที่ญี่ปุ่น รวมทั้งชาวญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งและทหารญี่ปุ่นที่อพยพกลับมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้เอาวิชาทำบะหมี่กลับมาเปิดร้านขายจนได้รับความนิยมไปทั่วประเทศ และเพื่อให้ได้รสชาติที่ถูกปากชาวญี่ปุ่น จึงมีการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ มากมาย จนกลายเป็น ราเม็ง ในปัจจุบัน 
ราเม็งในญี่ปุ่นสามารถจำแนกออกได้หลากหลายประเภทตามแต่ลักษณะของรสชาติ น้ำซุป หรือเส้น เช่น โชยุราเม็ง (รสซอสญี่ปุ่น), มิโซะราเม็ง (รสถั่วหมัก), ชิโอะราเม็ง (รสเกลือ) อีกทั้งแต่ละท้องถิ่นก็จะมีราเม็งที่เป็นต้นตำรับหรือสูตรเฉพาะที่แตกต่างกันไป นับตั้งแต่ที่ราเม็งเดินทางมาสู่ญี่ปุ่นก็ได้รับการพัฒนารูปแบบและรสชาติมาอย่างต่อเนื่อง มีร้านจำหน่ายราเม็งมากมายทั่วประเทศ แม้ราเม็งจะเป็นอาหารที่หาทานง่าย รวดเร็ว แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังยอมทนรอคิวเป็นเวลานานๆ เพื่อให้ได้ลิ้มลองรสชาติราเม็งจากร้านยอดนิยมที่มีคนต่อคิวยาวเหยียด ซึ่งก็เป็นภาพที่เห็นกันจนชินตา สำหรับชาวญี่ปุ่น ร้านดังๆ บางร้าน มีการจำกัดปริมาณการขาย เพราะต้องการคงรสชาติเอาไว้ เรียกว่ายอมขายได้น้อยเพื่อรักษาชื่อเสียง มากกว่าจะเน้นที่การขายให้ได้มากๆ แต่ลดคุณภาพลงไป 

นับจากช่วงทศวรรษที่ 90 เป็นต้นมา นับว่าเป็นช่วงที่ราเม็งบูมสุดขีด มีการออกเป็นหนังสือคู่มือสำหรับชิมราเม็งจากทั่วประเทศ ออกเป็นนิตยสารสำหรับราเม็งโดยเฉพาะ จัดการแข่งขันออกฉายทั่วประเทศ มีเว็บไซต์เกี่ยวกับราเม็งออกเผยแพร่และมีแม้กระทั่งพิพิธภัณฑ์ราเม็ง





ra1
เข้าคิวยาวเพื่อให้ได้กินราเม็งซักชาม


ra2
พิพิธภัณฑ์ราเม็งที่แสนโด่งดัง ในโยโกฮาม่า

ในราเม็งหนึ่งชามจะมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่ 3 อย่าง นั่นคือ เส้น, น้ำซุป และเครื่อง (Topping) โดยราเม็งแต่ละร้านก็จะมีสูตรเฉพาะแตกต่างกันไป


เส้น        เส้นราเม็งจะผลิตโดยใช้ส่วนประกอบหลักเพียงแค่ แป้งสาลี น้ำ และเกลือเท่านั้น แต่ละร้านอาจจะมีวิธีการผลิตเส้นที่ไม่เหมือนกัน บางร้านอาจจะใส่ส่วนประกอบบางอย่างลงไปเป็นพิเศษเพื่อเพิ่มรสชาติหรือเพื่อเป็นเอกลักษณ์ อย่างเช่น ไข่ ฟักทอง ชาเขียว พริก และอื่นๆ ตามแต่ไอเดียของผู้ปรุง สำหรับร้านที่มีชื่อเสียงจะผลิตเส้นเอง เพื่อคงรสชาติและความเป็นต้นตำรับไว้ แต่ก็มีบ้างที่ใช้เส้นจากโรงงาน

นอกจากนี้ในการผลิตเส้นยังมีอยู่หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นเส้นแบบตรง ซึ่งก็มีขนาดแตกต่างกันไป เส้นแบบหยัก เส้นขนาดใหญ่แบบอุด้ง เส้นแบน ซึ่งแต่ละร้านก็จะเลือกใช้เส้นตามสูตรเฉพาะของตน
น้ำซุป       น้ำซุปราเม็งนับเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด แต่ละร้านจะมีสูตรเฉพาะของตน โดยส่วนใหญ่จะใช้กระดูกสัตว์เคี่ยวจนได้น้ำซุป อาจเปลี่ยนเป็นปลา ปลาแห้ง หรืออาหารทะเลบ้าง อาจมีการเพิ่มผักหรือผลไม้หลากชนิดเพื่อเพิ่มรสชาติ ซุปของราเม็งสามารถแบ่งออกได้หลากหลายชนิด โดยประเภทใหญ่ ๆ มีอยู่ 4 ชนิด 
1. ซุปโชยุ หรือซอสถั่วเหลืองของญี่ปุ่น ราเม็งเกือบทุกร้านจะมีส่วนผสมเพื่อเพิ่มรสชาติของซุป โชยุก็นับเป็นเครื่องปรุงที่นิยมมากชนิดหนึ่ง ลักษณะและรสชาติคล้ายซีอิ๊วของจีน เพราะทำมาจากวัตถุดิบประเภทถั่วเหมือนกัน แตกต่างกันที่วิธีการและการปรุงรส น้ำซุปที่ได้จะมีสีเข้ม ขณะที่รสชาติจะแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของโชยุ 
2. ซุปมิโซะ หรือถั่วหมัก นำมาละลายกับน้ำซุป จะได้รสชาติที่เข้มข้น และซุปที่ได้จะมีลักษณะค่อนข้างข้น สีเข้ม รสชาติของราเม็งก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของมิโซะที่ใช้ 
3. ซุปชิโอะ หรือซุปรสเกลือ ใช้เกลือเป็นตัวปรุงรสหลัก 
4. ซุปทงคัตสึ หรือซุปกระดูกหมู เป็นน้ำซุปที่ได้จากการเคี่ยวกระดูกหมูเป็นเวลานาน อาจผสมกระดูกไก่ลงไปด้วย ซุปที่ได้จะมีความข้น สีขาวข้น เนื่องจากมีส่วนผสมของไขกระดูก มีปริมาณไขมันค่อนข้างมาก



ra4 ราเม็งแบบต่างๆ

เครื่อง (Topping)      เครื่องของราเม็งส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย ชาชู หรือเนื้อปรุงรส ผักชนิดต่างๆ หน่อไม้จีน นอกจากนี้อาจมีการเพิ่มเครื่องต่างๆ ตามแต่สูตรของแต่ละร้าน ไม่ว่าจะเป็น ไข่ต้ม ของทอด ชีส ธัญพืช ฯลฯ 

ชาชู หรือเนื้อปรุงรส นับเป็นเครื่องที่ใช้มากที่สุดในราเม็ง ส่วนใหญ่จะใช้เนื้อหมูติดมันหมักกับซอส นำมาต้มหรือย่าง หั่นเป็นชิ้นบางๆ รสชาติและชนิดของชาชูก็มีแตกต่างกันไปตามสูตรของแต่ละร้านเช่นกัน

 ra8 เนื้อหมูติดมันเคี่ยวกับซอสปรุงรส ปรุงเป็นชาชูรสเลิศ
เนื่องจากราเม็งเป็นอาหารยอดนิยมของชาวญี่ปุ่น ปัจจุบันมีร้านราเม็งทั่วประเทศมากกว่า 4 หมื่นร้าน รสนิยมการรับประทานของแต่ละท้องถิ่นก็จะแตกต่างกันไปด้วย อย่างเช่น 
ชาวฮอกไกโด    ก็จะนิยมรับประทานมิโซะราเม็ง ใส่ชีส ข้าวโพด ธัญพืช กระเทียม และในแถบจังหวัดที่ติดทะเลก็จะนิยมใช้อาหารทะเลเป็นเครื่องประกอบชาวฮอนชู         ก็จะนิยมราเม็งที่ใช้เส้นหนาและหยัก รับประทานพร้อมเนื้อหมูและปลาแห้ง และในบางเขตจะเรียกราเม็งว่า โซบะชาวโตเกียว       นิยมรับประทานโชยุราเม็งที่มีรสเข้มและใช้เส้นขนาดเล็ก ใส่เนื้อหมูหั่นบาง ปลาเส้น ผักโขม หอมทอด ไข่ต้ม สาหร่ายแผ่น และหน่อไม้ชาวโยโกฮาม่า   นิยมรับประทานราเม็งที่ใช้เส้นขนาดใหญ่และหนา คล้ายอุด้ง 
แต่หากจะแยกประเภทของราเม็งตามกรรมวิธีการปรุง ก็ยังแบ่งออกได้อีกหลายประเภท เช่น ราเม็งแบบเย็น ราเม็งรสเผ็ด ราเม็งแบบแห้ง ราเม็งแกงกะหรี่ เป็นต้น ในยุคสมัยที่ราเม็งเป็นอาหารยอดนิยมอันดับหนึ่งของประเทศ มีร้านราเม็งเปิดกิจการขึ้นมามากมาย ประกอบกับกระแสการตลาดและอิทธิพลของสื่อมวลชน ทำให้ราเม็งแต่ละร้านมีโอกาสเผยแพร่เอกลักษณ์และจุดเด่นของร้านเพื่อโปรโมทราเม็งของตน ร้านที่ได้ออกรายการโทรทัศน์ก็จะมีโอกาสได้รับความสนใจจากนักนิยมราเม็งทั่วประเทศ อีกทั้งยังมีการจัดแข่งขันทำราเม็งเป็นประจำทุกปี และแน่นอนว่าผู้ที่ชนะเลิศก็จะได้รับความสนใจจากคนทั้งประเทศ
ra9 ”เจ้าชายราเม็ง” นากามูระ

ชิเงะโทชิ นากามูระ ชายหนุ่มที่ได้รับการยกย่องเป็น เจ้าชายราเม็ง เขาเริ่มเป็นที่รู้จักในโลกของราเม็งตั้งแต่อายุเพียง 22 ปี (ปัจจุบันอายุ 30 ปี) เขาเป็นพ่อครัวราเม็งที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของประเทศ จบการศึกษาจากสหรัฐอเมริกาแต่กลับสนใจเรื่องของราเม็งเป็นพิเศษ ทันทีที่จบการศึกษาเขาก็อุทิศตนให้กับการค้นคว้าเรื่องราเม็ง คิดค้นสูตรราเม็งใหม่ๆ ออกมา จะกลายเป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศ 
“ราเม็ง เป็นอาหารที่สามารถพัฒนาไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด ผมไม่ต้องการเลียนแบบใคร ผมต้องการจะสร้างสรรค์ราเม็งแบบใหม่ๆ ในแบบฉบับของตัวผมเอง” 
ราเม็งได้พัฒนาอย่างที่ นากามูระ ว่าไว้จริงๆ ก่อนหน้ายุคของเขา ราเม็งก็ได้พัฒนามาเป็นบะหมี่สำเร็จรูปที่รู้จักกันทั่วโลก ไปจนถึงราเม็งสด ที่บรรจุใส่กล่องที่นำไปทำรับประทานเองที่บ้านได้ ทั้งแบบที่มีเครื่องให้พร้อมสรรพ หรือแบบที่มีเฉพาะเส้นและหัวเชื้อน้ำซุป และล่าสุดมีการสร้างเครื่องขายราเม็งอัตโนมัติออกมาวางตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่นแล้ว 

ra10
Ramen Stadium ที่เมืองฟุกุโอกะ ภายในแบ่งเป็นโซนต่างๆ ประกอบด้วยร้านราเม็งมากมาย

ขนมทองหยด

ทองหยอด 
ทองหยอดเป็นขนมโบราณชนิดหนึ่งซึ่งท่านผู้หญิง
วิชเยนทร์ หรือนามเดิม มารี นินยา เดอ กีย์มาร์
เชื้อสายญี่ปุ่น – โปรตุเกส ภรรยาเจ้าพระยาวิชเยนทร์
(นามเดิมคอนสแตน ติน ฟอลคอลชาวกรีก) ท่าน
ผู้หญิงวิชเยนทร์ มีตำแหน่งเป็นท้าวทองกีบม้า
เป็นตำแหน่งผู้ปรุงอาหารหลวงโดยท่านได้นำเอา
ความรู้ที่มีมาแต่เดิมผสมผสานกับความรู้ท้องถิ่น
ปรุงแต่งอาหารขึ้นใหม่ จนเป็นที่รู้จัก คือ ทองหยิบ
ทองหยอด ฝอยทอง (เดิมชาวโปรตุเกสกินกับเนื้อ
ย่างเป็นอาหารคาว)นับเป็นขนมชั้นดี ใช้ในงาน
มงคลต่าง ๆ ซึ่งคนไทยเรายังถือเคล็ดกันอยู่จึงใช้
ขนมที่ขึ้นต้นด้วยทอง เพื่อให้เกิดความเป็นมงคล
ตามชื่อขนม

ส่วนผสม
ส่วนผสม
ไข่แดง 15 ฟอง
แป้งทองหยอด 10 ช้อนโต๊ะ
น้ำเชื่อม
น้ำตาลทราย 10 ถ้วยตวง
น้ำเปล่า 6 ถ้วยตวง
น้ำเชื่อมใส
น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง
วิธีทำ
1. แยกไข่แดง ไข่ขาว โดยกรองด้วยผ้าขาวบางแล้วรีดออก
2. ตีไข่ด้วยเครื่องตีไข่ให้ขึ้นฟู (ประมาณ 15 นาที)
3. แบ่งไข่ที่ตีแล้วใส่ถ้วยครั้งละ 1 ถ้วย ใส่แป้ง 4 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน
4. หยอดในน้ำเชื่อมที่กำลังเดือดปุด ไฟแรง 
 
 การหยอด
การหยอด
เอียงถ้วยใช้นิ้วชี้ และนิ้วกลาง ปาดไข่ขึ้นมาแล้วใช้นิ้วหัวแม่มือ
ดันลงไปโดยสะบัดข้อมือเล็กน้อยให้ไข่สะบัดไปด้านหลัง ทอง
หยอดจะมีหางเล็กน้อย หยอดลงไปประมาณ 1/3 ของน้ำเชื่อม
เติมน้ำเล็กน้อย ฟองน้ำตาลจะยุบตัวเห็นเม็ดทองหยอด ทิ้งให้
เดือดอีกประมาณ 2 นาที ใส่น้ำลงไปอีกเล็กน้อย แล้วทิ้งให้เดือด
อีก ทำเช่นนี้ 3 ครั้ง จนทองหยอดสุกจะมีความใส ตักขึ้นใส่แช่
ในน้ำเชื่อมใสที่เตรียมไว้

ลักษณะที่ดีของทองหยอด
1. เนื้อเรียบเนียน เป็นมันเงา
2.ด้านในและด้านนอกของเนื้อทองหยอดมีความนุ่มเหมือนกัน
ไม่เป็นไตแข็ง
3. ไม่มีกลิ่นคาว







 

ประวัติข้าวแช่







ข้าวแช่ เป็นส่วนประกอบในเทศกาลสงกรานต์ของมอญ เป็นประเพณีสืบกันมาว่า ในวันสงกรานต์จะต้องทำข้าวแช่ถวายพระ เพราะถือว่าเป็นสิริมงคล

          มีเรื่องราวเกี่ยวกับตำนานข้าวแช่ที่นำมาจากหนังสือเมืองโบราณ
          
เรื่องมีอยู่ว่า มีเศรษฐีคนหนึ่งมั่งคั่งบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ แก้วแหวนเงินทอง ขาดอยู่แต่ทายาทที่จะรับสืบทอดมรดก จึงไปทำพิธีบวงสรวงพระอาทิตย์พระจันทร์อยู่นาน จนเวลาล่วงไป 3 ปี ยังไม่มีลูก เห็นทีจะไม่ได้ผล จึงเปลี่ยนไปบวงสรวงพระไทร ซึ่งสิงสถิตต้นไม้ใหญ่ริมน้ำ ในการจัดเครื่องบวงสรวงครั้งนี้ เศรษฐีสั่งให้บริวารเอาข้าวสารเมล็ดงามล้างน้ำถึง 7 ครั้งจนบริสุทธิ์หมดมลทิน แล้วจึงหุงข้าวนั้นเพื่อบูชาพระไทร ประกอบด้วยอาหารโอชารสอีกมากมาย ล้วนจัดทำประณีตทั้งสิ้น จากนั้นเศรษฐีจึงอธิษฐานขอบุตรจากพระไทร ฝ่ายพระไทรเห็นความพยายามของเศรษฐี ก็เมตตา จึงไปเฝ้าพระอินทร์ทูลขอบุตรให้เศรษฐีได้ผล พระอินทร์จึงโปรดให้เทวบุตรนามว่าธรรมปาล จุติลงมาเกิดในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ฝ่ายเศรษฐียินดีปรีดามากตั้งชื่อลูกชายว่า ธรรมบาลกุมาร พร้อมสร้างปราสาทเจ็ดชั้นให้ลูกชาย เป็นที่มาของนิทานมหาสงกรานต์ที่ได้ยินกัน
          
ขอตัดต่อมาที่เรื่องข้าวแช่ ว่าชาวมอญหุงข้าวแช่ในงานสงกรานต์ คงไม่ใช่เพื่อขอลูก แต่เพื่อถวายพระ และข้าวที่หุงนี้ไม่เหมือนกับที่กินหรือขายกันทั่วไป แต่กรรมวิธีพิเศษพิสดารกว่า เช่น ต้องใช้ข้าวสารดีเยี่ยม 7 กำ ซ้อมข้าวนั้นให้ได้ 7 ครั้ง แล้วซาวน้ำบริสุทธิ์ 7 หน จึงนำมาหุง ตามประเพณีต้องหุงกลางแจ้ง ถ้าจะให้เต็มพิธีต้องปักราชวัตรฉัตรธงด้วย นอกจากถวายข้าวแช่พระแล้ว ข้าวแช่นี้ยังจะต้องจัดสังเวยเทวดาด้วย โดยปลูกศาลเพียงตาบริเวณบ้าน และสังเวยข้าวแช่เป็นเวลา 3 วัน ข้าวแช่ที่เหลืออยู่อาจนำไปให้ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือเพื่อเป็นสิริมงคล
          
ข้าวแช่ที่เราคุ้นเคยกันอยุ่ทุกวันนี้ เรียกเต็มๆแบบเพราะพริ้งว่า “ข้าวแช่เสวย” หรือ “ข้าวแช่ชาววัง” ซึ่งหมายถึงข้าวแช่ลอยในน้ำดอกไม้หอมเย็นชื่นใจ ที่รับประทานกับเครื่องเคียง เช่น ลูกกะปิทอดสีส้มจัด เครื่องผัดหวานสีน้ำตาลเข้ม และผักสีสวยทั้งหลายชื่อข้าวแช่ชาววังหรือข้าวแช่เสวยนี้หมายถึงข้าวแช่ที่ชาววังจัดถวายรัชกาลที่ ๕ แล้วโปรดเป็นอย่างมาก หลังจากสิ้นรัชกาลที่ 5 ในปี 2453 แล้ว ข้าวแช่ก็ออกสู่สังคม แล้วกลายเป็นดารายอดฮิตประจำเมนูหน้าร้อน โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์มาตั้งแต่นั้น ข้าวแช่ตำรับที่มีชื่อมากที่สุด เป็นของ ม.ล.เนื่อง นิลรัตน์ ผู้เคยทำงานอยู่ในห้องเครื่องต้นสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านถือเป็นคนแรกๆที่ทำข้าวแช่ออกสู่ตลาด และมีชื่อเสียงโด่งดังจนถึงปัจจุบัน เสน่ห์ข้าวแช่อยู่ที่กรรมวิธีในการปรุง เพราะองค์ประกอบของข้าวแช่นั้นมีมากมาย เคล็ดลับในการทำและทานข้าวแช่ให้ได้อรรถรสจึงอยู่ที่การสังเกตไปพร้อมกับการลิ้มรส ข้าวแช่ต้องมากับ “น้ำดอกไม้” ในฤดูร้อนดอกไม้ไทยต่างพากันชิงออกดอกส่งกลิ่นหอม น้ำที่นำมาใส่ข้าวแช่จึงได้อิทธิพลของดอกไม้เหล่านี้ด้วย นิยมใช้ดอกไม้ไทยที่มีกลิ่นหอมเย็น ส่วนน้ำที่ใช้แต่เดิมมักใช้น้ำฝนใสสะอาด แต่ปัจจุบันมีน้ำแร่ของไทยชนิดไม่อัดแก๊สบรรจุขวดก็นำมาใช้แทนกันได้ดี เวลาเตรียมมักใส่น้ำลงในหม้อดินมีฝาปิด เพื่อให้น้ำนั้นเย็นกว่าอุณหภูมิภายนอก เวลาจะกินสมัยก่อนใช้เกล็ดพิมเสนโรยลงในน้ำเพียงสองสามเกล็ดเพื่อให้เย็นชื่นใจยิ่งขึ้น แต่ปัจจุบันหันไปใช้น้ำแข็งทุบละเอียดแทน “ลูกกะปิทอด” ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของกับข้าวแช่ จะดูกันว่าข้าวแช่ของใครที่มีฝีมือก็ต้องพิจารณากันที่ลูกกะปิทอดนี้เอง ถัดมาก็มีพริกหยวกสอด, ปลายี่สนผัดหวาน,เนื้อเค็มฝอยผัดหวาน,หัวหอมสอดไส้,ผักกาดเค็มผัดหวาน,ปลาแห้งผัดหวาน , หมูสับกับปลากุเลา คือเครื่องเคียงที่นิยมรับประทานแกล้มกับข้าวแช่ ที่ลืมไม่ได้เลยคือผักสดแกะสลัก เมื่อกับข้าวแช่ส่วนใหญ่เป็นของทอด ก็ย่อมต้องมีผักที่ให้กลิ่นหอมและรสออกเปรี้ยวและขื่นนิดๆไว้ตัดรส แตงกวา มะม่วงดิบ ต้นหอม กระชาย และพริกชี้ฟ้าสด จึงถูกนำมาจัดเป็นผักสดไว้กินแนมกับข้าวแช่ การกินข้าวแช่ก็ยังต้องมีวิธีการกินเช่นกัน เริ่มจากนำข้าวใส่ในน้ำลอยดอกไม้ให้สัดส่วนน้ำมากกว่าข้าวใส่น้ำแข็งเล็กน้อยพอให้เย็นชื่นใจ เวลาจะกินให้ตักกับข้าวใส่ปากแล้วตักข้าวตาม ก็จะได้รสชาติทั้งเย็นฉ่ำและความอร่อยกลมกล่อมของกับข้าว
          
นี่คือสิ่งที่แสดงถึงวัฒนธรรมการกินของไทยที่งดงาม ละเอียดอ่อน ไม่แพ้ชาติใดในโลก เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์จากจินตนาการทิ้งไว้ให้กับชนรุ่นต่อๆมา เมื่อครั้งที่วัฒนธรรมจากตะวันตกยังมาไม่ถึง นับว่าเป็นความภาคภูมิใจที่ชนรุ่นหลังควรรักษาไว้ให้ยั่งยืนสืบต่อไป
เครื่องปรุง
          ส่วนประกอบ : ข้าวสาร 1 ส่วน น้ำสะอาด 6 ส่วน
          
ซาวข้าวให้สะอาด ใส่น้ำตามส่วน ตั้งไฟคอยคนอย่าให้ไหม้ พอเดือดขนาดเช็ดน้ำได้ ยกลง รินน้ำทิ้งให้หมด ล้างข้าวด้วยน้ำเย็นหลายครั้งจนกว่าข้าวจะเย็น 
ใส่น้ำในลังถึง ตั้งไฟจนเดือด ปูผ้าขาวบางบนลังถึง เทข้าวที่ล้างแล้วลงไป เกลี่ยให้กระจายทั่ว นึ่งประมาณ 10 นาทีหรือดูจนข้าวสุก ยกลง ทิ้งไว้ให้เย็น 
เวลากินตักข้าวใส่ชาม ตักน้ำลอยดอกไม้สดใส่ กินกับเครื่องเคียง 
เครื่องเคียงข้าวแช่          1. หัวผักกาดเค็มผัด
          ส่วนประกอบ : หัวผักกาดเค็มหั่นฝอย ไข่ น้ำตาลทราย
          วิธีทำ : 
ล้างหัวผักกาดเค็มให้สะอาด หั่นฝอย ผัดกับไข่ ใส่น้ำตาลให้ออกรสหวาน 

          2. 
ปลาช่อนแห้งผัด          ส่วนประกอบ : ปลาช่อนเค็ม น้ำตาลทราย
          วิธีทำ : 
นึ่งปลาพอสุก ฉีกให้เป็นฝอย ทอดให้กรอบแล้วผัดกับน้ำตาลให้พอมีรสหวาน
          3. พริกหยวกสอดไส้          ส่วนประกอบ : หมูสับ ½ ก.ก. กุ้งสับ 10 ตัว กระเทียมพริกไทยโขลกรวมกัน 1 ช.ต. น้ำปลา 1 ½ ช.ช. น้ำตาล 1 ช.ช. ไข่ 5 ฟอง พริกหยวก
          วิธีทำ : 
เคล้าหมู กุ้ง กระเทียมพริกไทยให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล ต่อยไข่ใส่ 1 ฟอง ปั้นเป็นแท่งยาว ทอดจนสุก 
               ใส่หมูที่ทอดลงในพริกหยวกที่คว้านไส้ออก นึ่งในลังถึงน้ำเดือดพล่าน 5 นาที พอเย็นบีบน้ำออกให้หมด 
                ต่อยไข่ที่เหลือ ตีพอแตก ใช้มือชุบไข่แล้วโรยขวางไปมาในกระทะที่ใส่น้ำมันพอลื่นและใช้ไฟอ่อน สุกแล้วลอกออกเป็นชิ้นๆ ห่อพริกให้รอบ

          4. หอมสอดไส้          ส่วนประกอบ : หอมแดง 20 หัว รากผักชีกระเทียมพริกไทยโขลกรวมกัน 1 ช.ต. เนื้อปลาช่อนนึ่ง 1 ตัว น้ำ 1 ช.ต. น้ำปลา 1-2 ช.ช. เกลือป่น 1 ช.ช. แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วย หัวกะทิคั้นด้วยน้ำปูนใส 1 ถ้วยไข่ 1 ฟอง
          วิธีทำ : 
ปอกเปลือกหอมคว้านไส้ออก สับส่วนที่คว้านออกมาให้ละเอียด 
               ผักรากผักชีฯให้หอม ใส่หอมสับ เนื้อปลา น้ำ หัวกะทินิดหน่อย ปรุงรสด้วยน้ำปลา เกลือชิมรสตามชอบ พักไว้ให้เย็น แล้วจึงยัดใส่หัวหอมที่คว้านไว้ 
               นวดแป้งข้าวเจ้ากับหัวกะทิโดยค่อยๆใส่กะทิทีละน้อยจนเป็นเนื้อเดียวกันและข้นขนาดนมข้น หยิบหอมลงชุบแล้วทอดให้เหลือง

          5. กะปิทอด
          ส่วนประกอบ : กระชาย 7 ราก ตะไคร้ 2 ต้น ข่า 5 แว่น ผิวมะกรูด 1 ช.ช. รากผักชี 1 ช.ช. หอมแดง 9 หัว กระเทียม 10 กลีบ กะปิ 1 ช.ต. เนื้อปลาดุกย่าง 1 ตัว ปลาฉลาดย่าง 2 ตัว น้ำปลาและน้ำตาลอย่างละ 1 ช.ต. ไข่ 3 ฟอง แป้งข้าวเจ้า 1 ช.ต.
          วิธีทำ : 
โขลกกระชาย ตะไคร้ ข่า ผิวมะกรูด รากผักชี หอมแดง กระเทียมให้ละเอียด ใส่กะปิ เนื้อปลาโขลกให้เข้ากัน ผัดให้หอม ปรุงรสด้วยน้ำปลาน้ำตาล ผัดจนแห้ง ยกลง ทิ้งไว้ให้เย็น 
          ปั้นเป็นก้อนกลมๆเล็กๆ ให้เท่ากัน ต่อยไข่แล้วตีให้แตก ใส่แป้ง คนให้เข้ากัน นำกะปิที่ปั้นไว้ลงชุบแล้วทอดให้เหลือง 
 

ประวัติ pepsi

เป๊ปซี่ โคล่า คือ เครื่องดื่มอัดลมที่ผลิตโดยบริษัทเป๊ปซี่ ซึ่งเป็นบริษัทคู่แข่งรายสำคัญของโคคา โคล่า เป๊ปซี่ โคล่ากำเนิดขึ้นครั้งแรกโดยการคิดค้นของเภสัชกร คาแร็ป แรดแฮม ที่ นิวเบิร์น นอร์ทแคโรไลนา ในช่วงทศวรรษ1800-1900 แรกเริ่มเครื่องดื่มชนิดนี้ถูกตั้งชื่อว่า 'เครื่องดื่มของแบรด (Brad's drink)' โดยมีเจตนาจะผลิตเครื่องดื่มชนิดนี้ขึ้นเพื่อช่วยรักษาอาการปวดท้อง ต่อมาแรดแฮมจึงตั้งชื่อเครื่องดื่มนี้ว่าเป๊ปซี่จากอาการปวดท้องที่เรียกว่า ไดเป๊ปเซีย ชื่อเป๊ปซี่นั้นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 1903 ส่วนผสมของเป๊ปซี่ถือเป็นความลับทางการค้าเช่นเดียวกับสูตรผสมของ โค้ก เคเอฟซี และแม็คโดนัลด์

ประวัติเป๊ปซี่ (Pepsi)

เป๊ปซี่ (Pepsi) ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้เป็ยยาในร้านขายยาของนาย คาเลบ แบรดแฮม (Caleb D. Bradham) เภสัชกรจากเมืองนิวเบิร์น รัฐนอร์ธ คาโรไลนาโดยใช้ชื่อว่าเครื่องดื่มคาร์บอเนต ใช้เครื่องหมายการค้าครั้งแรกว่า 'แบรดส์ ดริงค์' (Brad's Drink) ในปี ค.ศ. 1898

ต่อมาในปี ค.ศ. 1903 ต่อมามีการจำหน่ายและทำการขายผลิตภันฑ์ของเป๊ปซี่ โดยยังคงความเป็นต้นตำรับและคุณสมบัติการช่วยย่อยอาหาร จึงได้มีการจัดทำโฆษณาเครื่องดื่มว่า 'สดชื่น มีชีวิตชีวา และช่วยในการย่อยอาหาร'ตามเจตนารมณ์เดิม

หลังจากที่ได้มีการว่าจำหน่ายมาประมาณ 2 ปี ในปีค.ศ. 1905 ได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงโลโก้ใหม่จากการก่อตั้งครั้งแรกในปี ค.ศ. 1898 โรงงานบรรจุขวด เป๊ปซี่-โคล่าสาขาแรกได่ถูกก่อก่อตั้งในเมืองชาร์ล็อตและเดอร์แฮม รัฐนอร์ธ คาโรไลน่า

8 ปีต่อมาเป๊ปซี่เปลี่ยนโลโก้ใหม่อีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1906 ซึ่งนับเป็นโลโก้แบบที่ 3 และเปลี่ยนแปลงข้อความโฆษณา 'The Original Pure Food Drink' โดยในปีนั้นเป๊ปซี่มีโรงงานบรรจุขวดแล้วทั้งหมด 15 โรงงานทั่วสหรัฐอเมริกา โดยเครื่องหมายการค้าของเป๊ปซี่ ถูกจดทะเบียนเพิ่มในในประเทศแคนาดา โดยมียอดจำหน่ายมากถึง 38,605 แกลลอน และในปีต่อมาได่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป๊ปซี่ ในประเทศเม็กซิโก ในปี ค.ศ. 1907

และมีการเปลี่ยนมาใช้ข้อความที่ว่า 'รสชาติเยี่ยมและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ' ภาษาอังกฤษ: ('Delicious and healthful') โดยมีการใช้ข้อความนี้มาต่อเนื่องยาวนานถึง 2 ทศวรรษ
เป๊ปซี่ (Pepsi)

ส่วนประกอบ 

1.น้ำตาล 2.น้ำตาลไหม้ 3.กาเฟอีน(ไร้กาเฟอีน) 4.กรดฟอสฟอริก 5.สารสกัดจากใบโคคา(สกัดเอาโคเคนออกแล้ว) และสารสกัดจากเมล็ดโคลาปริมาณเล็กน้อย 6.กรดน้ำส้ม และโซเดียมไซเทรต 7X.มะนาวฝรั่ง ส้ม มะนาว แคสเซีย(cassia คืออบเชยชนิดหนึ่ง) น้ำมันลูกจันทร์เทศ และสารอื่นๆ 8.กลีเซอรีน 9.วานิลลา

การวางขายในประเทศไทย

เป๊ปซี่ขวดแรกของไทย ออกวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2496 เวลา 7.00 น.

-   เป๊ปซี่
-   เป๊ปซี่ MAX
-   เป๊ปซี่ ทวิสต์
-   เป๊ปซี่ BLUE (ปัจจุบันหยุดการจำหน่าย)
-   เป๊ปซี่ ลาเต้ (ปัจจุบันหยุดการจำหน่าย)
-   เป๊ปซี่ FIRE (ปัจจุบันหยุดการจำหน่าย)
-   เป๊ปซี่ ICE (ปัจจุบันหยุดการจำหน่าย)
-   เป๊ปซี่ GOLD (ปัจจุบันหยุดการจำหน่าย)
-   เป็ปซี่ โคล่า (จัดจำหน่ายครบรอบ 55 ปี)
-   เป๊ปซี่ กรีน (เริ่มจำหน่ายในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552)

ประวัติของ Earle Swensen




          







         ความเป็นมาของ Swensen's เริ่มต้นจากการชอบในไอศกรีมของกลาสีเรือชาวอเมริกัน Mr.Earle Swensen's เมื่อเขาพบเครื่องทำไอศกรีมขนาดใหญ่ในเรือ ที่เขาประจำการในปี ค.ศ.1942 จึงใช้เวลาว่างคิดค้นไอศกรีมรสต่างๆ แจกจ่ายเพื่อนฝูงจนกระทั่งปลดประจำการแล้วเขาได้เปิดร้าน "Swensen's Ice Cream" ณ มุมถนนยูเนียนและไฮด์ในเมืองซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนียในปี ค.ศ.1948 ในระยะแรกของการเปิดร้านเขามักแจกตัวอย่างไอศกรีมให้ลูกค้าได้ลองชิมและแสดง ความคิดเห็นเพราะเชื่อว่าคนที่ชอบรับประทานไอศกรีม Swensen's ของเขาควรมีส่วนในการทำไอศกรีมนั้นเอง ด้วยความพิถึพิถันในการเลือกส่วนผสมชั้นเยี่ยมและบริการ อย่างเป็นกันเองจนเป็นที่ประทับใจของลูกค้าทำให้ร้านไอศกรีมตามแบบฉบับดั้ง เดิมเล็ก แห่งนี้กลายเป็นกิจการที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ต่อมาในปี ค.ศ.1963 บริษัทได้ขยายกิจการออกไปในรูปแบบเฟรนไชส์ โดยในปี ค.ศ.1983 สตีฟส์ ไอศกรีม ได้รับช่วงดำเนินการต่อโดยสืบทอดคุณภาพ กรรมวิธีการผลิตและรสชาติตามแบบดั้งเดิม ขยายเครือข่ายจนปัจจุบันมีเครือขายร้านอยู่ทั่วโลก ในปี ค.ศ.1986 The Minor Group ได้ซื้อลิขสิทธิ์กิจการไอศกรีมสเวนเซ่นส์มาดำเนินการในประเทศไทยโดยเปิดที่ เซ็นทรัล พลาซ่าลาดพร้าวเป็นสาขาแรก ในไม่ช้าสเวนเซ่นส์ก็กลายเป็นร้านไอศกรีมที่อยู่ในความนิยมของชาวไทยอย่าง รวดเร็วจนมาถึงวันนี้ได้เปิดสาขาในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย โดยยึดคุณภาพมาตราฐานเดียวกันกับต้นตำรับอเมริกัน ด้วยส่วนผสมที่คัดสรรจากความสดใหม่ คุณภาพเยี่ยม และไขมันเนย 14%ให้ความเข้มขน หวานมัน พร้อมคุณค่าทางโภชนาการ นอกจากนี้ยังมีไอศกรีมสูตรพิเศษตามฤดูกาล อาทิไอศกรีมมะม่วง ให้เลือกอีกด้วย




*************************************************************************************************************************

ประวัติ coca cola


     








บริษัท ทรัสต์ คอมพานี แห่งรัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐฯ เป็นที่เก็บสูตรลับของเครื่องดื่มที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลกชนิดหนึ่งที่ มีชื่อว่า โคคา-โคล่า หรือคนทั่วไปเรียกว่า โค้ก สูตรลับนี้มีผู้ที่สามารถเปิดดูได้เพียงคนเดียวเท่านั้นคือผู้อำนวยการบริษัทถึงแม้จะมีผู้จัดจำหน่ายอยู่หลายแห่งทั่วโลก แต่ไม่มีสักรายที่ล่วงรู้ส่วนผสมที่แท้จริง เพราะบริษัทจะจัดส่งหัวเชื้อซึ่งเป็นน้ำเชื่อมและส่วนผสมอื่นๆ ให้ผู้แทนจำหน่ายไปผสมกับน้ำโซดา แม้กระทั่งรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ไม่สามารถล่วงรู้สูตรลับของโคคา-โคล่า ได้

ปี ค.ศ.1983 นักเขียนอเมริกัน วิลเลียม พาวน์สโตน ตีพิมพ์ผลงานที่มีความยากลำบากในการค้นคว้าชื่อว่า Top Secret เขา บอกว่า ส่วนผสมหลักของโค้ก บริษัทจะกำหนดเป็นส่วนผสมหมายเลข 1-9 และเรียกว่าเป็นสินค้านั้น มีดังนี้คือ

1.น้ำตาล 2.น้ำตาลไหม้ 3.กาเฟอีน(ไร้กาเฟอีน) 4.กรดฟอสฟอริก 5.สารสกัดจากใบโคคา(สกัดเอาโคเคนออกแล้ว) และสารสกัดจากเมล็ดโคลาปริมาณเล็กน้อย 6.กรดน้ำส้ม และโซเดียมไซเทรต 7X.มะนาวฝรั่ง ส้ม มะนาว แคสเซีย(cassia คืออบเชยชนิดหนึ่ง) น้ำมันลูกจันทร์เทศ และสารอื่นๆ 8.กลีเซอรีน 9.วานิลลา


การวิเคราะห์สารเคมีทำให้ รู้ส่วนผสมบางอย่าง แต่ส่วนที่ค้นพบยากที่สุดคือส่วนที่เป็นหัวน้ำมันหอมระเหยใน สินค้าหมายเลย 7X (ไม่มีคำอธิบายความหมายของ X) การนำเอาหัวเชื้อเหล่านี้มาผสมกันใช่ว่าจะได้กลิ่นและรสชาติตามสูตรของโคคา -โคล่า เพราะน้ำมันเหล่านี้จะทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นกลิ่นและรสชาติอื่นๆ ได้อีก การที่จะลอกเลียนแบบต้องรู้ส่วนผสมและสัดส่วนที่แท้จริง ซึ่งยากในการวิเคราะห์ ด้วยเหตุนี้ส่วนผสมก็ยังคงเป็นความลับสุดยอดของโคคา-โคล่า จนถึงวันนี้

เครื่องดื่มที่ติดปากของคนทั่วโลก ดร.จอห์น เอส เพมเบอร์ตัน (John Stith Pemberton) เป็นผู้คิดค้นสูตรดั้ง เดิมของโคคา-โคล่า เขาเป็นเภสัชกรที่แอตแลนตา จอร์เจีย ในปี ค.ศ.1885 ขานำเอาเครื่องดื่มที่ผสมเหล้าองุ่นแดงมาดัดแปลโดยผสมใบโคคาลงไปด้วย ซึ่งโคคามีสารที่กระตุ้นประสาทที่เรียกว่าโคเคน แต่กลับขายไม่ดี เขาจึงปรับปรุงสูตรอีกโดยเอาลูกโคลามาแทนเหล้าองุ่นแดง ซึ่งโคลานี้เป็นโคลาพันธุ์แอฟริกา มีสารประตุ้นประสาทที่เรียกว่า กาเฟอีน เข้าได้เติมน้ำตาลและแต่งกลิ่นไม่ให้ขม

สัญลักษณ์โคคา-โคล่า เป็นการออกแบบของหุ้นส่วนที่ชื่อว่า แฟรงค์ เอ็ม โรบินสัน (Frank Mason Robertson) เมื่อปี 1887 เพมเบอร์ตันขายสูตรนี้ให้ วิลลิส อี เวเนเบิล และ จอร์จ เอส ลอนเดส และอีก 5 เดือนต่อมาก็ขายต่อให้ วูลโฟล์ค วอล์เคอร์ และ เอ็ม ซี โดเซียร์ และต่อมาอีก 1 ปี ก็ขายให้ เอซา จี แคนด์เลอร์ (Asa Griggs Candler) ซึ่งเพมเบอร์ตันก็ถึงแก่กรรมในปีนั้น

แคนด์เลอร์ได้ผสมส่วนผสมนี้กับน้ำโซดา และคิดว่าต้องเป็นเครื่องดื่มที่คนนิยมอย่างมาก จึงได้เก็บสูตรนี้ไว้เป็นความลับ แคนด์เลอร์ได้ปรับปรุงสูตรใหม่อีก และรับแฟรงค์ เอ็ม โรบินสัน เข้าเป็นหุ้นส่วน และได้ก่อตั้งบริษัทโคคา-โคล่า ในปี 1892 จนถึงปี 1903 ก็มีเพียง 2 คนเท่านั้นที่รู้สูตรของเครื่องดื่มชนิดนี้ และมีสิทธิ์ในการผสมน้ำเชื่อมในห้องลับ

เขาได้แกะฉลากส่วนผสมต่างๆ ออกและชำระเงินด้วยตัวเองเพื่อไม่ให้ฝ่ายบัญชีรู้ว่าซื้อส่วนผสมอะไรมา เมื่อบริษัทเติบโตขึ้น เขาทั้งสองคนไม่สามารถผสมส่วนผสมต่างๆ ได้ด้วยตัวเองอีก เขาจึงกำหนดหมายเลข 1-9 เพื่อใช้เรียกชื่อส่วนผสม ผู้จัดการสาขาจะรู้เพียงสัดส่วนและวิธีผสมเท่านั้น


เมื่อปี 1909 รัฐบาลสหรัฐฯ ยื่นฟ้องบริษัทว่าใช้ส่วนผสมที่มีโคคาอยู่ด้วย ซึ่งอาจจะมีโคเคนผสมอยู่ คดียืดเยื้อกว่า 10 ปี แต่ก็ไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่าในส่วนผสมพบโคเคนอยู่ในสารสกัดโคคาหรือโคลา แม้แต่น้อยนิด

วิลเลียม พาวน์สโตน กล่าวในหนังสือ Top Secret ว่า ในโคคา-โคล่า มีส่วนผสม โคคา หรือ โคลา เพียงนิดเดียว ซึ่งไม่มีผลต่อรสชาติสักเท่าใด


ในสงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำลังฝ่ายพันธมิตรในแอฟริกาได้สั่งซื้อโคคา-โคล่า จำนวนถึง 3 ล้านขวด ส่วนโคคา-โคล่าที่เป็นกระป๋องพึ่งมีในปี 1955